ประเพณีไหลเรือไฟบ้านเฮา

Posted by: | Posted on: ตุลาคม 5, 2021
การไหลเรือไฟและกระทงสายในวันขึ้น14 ค่ำเดือน 9 บุญข้าวประดับดินของชาวบ้านหนองหล่ม
เนื่องด้วยสถานการณ์Covid-19 ทำให้ไม่ได้มีการจัดงานมหรสพหรืองานรื่นเริงจึงไม่ได้ประชาสัมพันธ์บอกกล่าวเหมือนทุกปีมีเพียงแค่การลอยกระทงสายและปล่อยเรือไฟเท่านั้น เพื่อยังคงไว้และสืบสานประเพณีอันดีงามนี้ให้คงอยู่กับหมู่บ้านหนองหล่มตลอดไป
นำทีมโดย ทีมงานโอเคและชาวบ้านหนองหล่ม
หวังว่าสถานการณ์ดีขึ้นแล้วเราจะกลับมาเจอกันนะคะ ✨
   
 

ประเพณีไหลเรือไฟบ้านเฮา

Posted by: | Posted on: ตุลาคม 5, 2021
การไหลเรือไฟและกระทงสายในวันขึ้น14 ค่ำเดือน 9 บุญข้าวประดับดินของชาวบ้านหนองหล่ม
เนื่องด้วยสถานการณ์Covid-19 ทำให้ไม่ได้มีการจัดงานมหรสพหรืองานรื่นเริงจึงไม่ได้ประชาสัมพันธ์บอกกล่าวเหมือนทุกปีมีเพียงแค่การลอยกระทงสายและปล่อยเรือไฟเท่านั้น เพื่อยังคงไว้และสืบสานประเพณีอันดีงามนี้ให้คงอยู่กับหมู่บ้านหนองหล่มตลอดไป
นำทีมโดย ทีมงานโอเคและชาวบ้านหนองหล่ม
หวังว่าสถานการณ์ดีขึ้นแล้วเราจะกลับมาเจอกันนะคะ ✨

ชาวบ้านหนองหล่มยินดีต้อนรับ

Posted by: | Posted on: มิถุนายน 16, 2021

รพ.สต.บ้านหนองหล่มพร้อมต้อนรับ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ตรวจราชการ


ร่วมรับฟัง คำแนะนำเรื่องการสมัครขอเข้ารับการประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์

Posted by: | Posted on: มีนาคม 18, 2021

ร่วมรับฟัง
คำแนะนำเรื่องการสมัครขอเข้ารับการประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ จากนางสาวเกียรติสุดา แสงหมื่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมุกดาหาร พร้อมคณะ ,#โดยการนำของนายสมชาย แข็งแรง ผู้ใหญ่บ้านพร้อมชาวบ้านหนองหล่มร่วมให้การต้อนรับ ขอขอบคุณมา ณ.โอกาสนี้คะ

ผ้าฝ้ายจากเส้นใยสังเคราะห์ (Synthetic)’

Posted by: | Posted on: สิงหาคม 14, 2019

เส้นใยสังเคราะห์ (Synthetic Fiber) เป็นเส้นใยที่เกิดจากการค้นคว้าและพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ,คุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยของเส้นใยได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นจากเส้นใยปกติทั่วไปที่ได้จากพืชและขนสัตว์โดยในระยะแรกๆที่ได้คิดค้นเส้นใยสังเคราะห์นั้นได้เริ่มต้นจากเส้นใยที่ได้จากเซลลูโลสที่ได้จากพืชมาทำการสังเคราะห์ที่จะคิดประดิษฐ์ เส้นใยให้เหมือนใยไหมได้…

 


ผ้าฝ้าย เส้นใยจากธรรมชาติ

Posted by: | Posted on: สิงหาคม 14, 2019

เส้นใยจากธรรมชาตินั้นมี4ประเภทหลักๆได้แก่เส้นใยเซลลูโลสธรรมชาติ (Natural cellulose fibers)เป็นกลุ่มเส้นใยที่ได้จาก พืช เช่น ฝัาย ลินิน ป่าน ปอ โครงสร้างของโมเลกุลประกอบด้วยกลุ่ม แอนไฮโดรกลูโคส เกาะ เกี่ยวกันเป็นสายโซ่ยาวโมเลกุลใหญู่สายโมเลกุลนี้รวมกันจำนวนมากจะเกิดเป็นเส้นใยและยิ่ง มีความยาวมาก

 


คุณสมบัติของผ้าฝ้าย

Posted by: | Posted on: สิงหาคม 14, 2019

ข้อดีและข้อเสียโดยรวมของผ้าฝ้ายต่างๆมีดังนี้

1.สวมใส่สบาย เพราะดูดความชื้นและระบายความร้อนออกได้ดี
2.มีความทนทาน
3.ทนต่อความร้อน
4.เนื้อผ้าฝ้ายยับง่าย คงรูปทรงได้ยาก


ลูกประคบกับการรักษาโรค

Posted by: | Posted on: สิงหาคม 7, 2019

ภูมิปัญญาไทยมีมาตั้งแต่โบราณหลังการนวดรักษาผู้ป่วย หมอมักจะนำเอาสมุนไพรที่อยู่ในห่อผ้า ซึ่งเราเรียกว่า “ลูกประคบ” มาประคบให้หลังจากการนวด หรือบางอาการที่ไม่เหมาะกับการนวดหมอก็จะใช้ลูกประคบมาประคบตามส่วนต่างๆของร่างกายที่มีอาการปวด เมื่อยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายสบายตัว และรับรู้ได้ถึงอาการปวด เมื่อยดีขึ้น อาการปวด ตึงได้คลายลง ซึ่งหลายท่านอาจเคยสงสัยว่าในห่อผ้านั่นมีสมุนไพรอะไรอยู่บ้าง วันนี้เรามาทำความรู้จัก กับลูกประคบสมุนไพรกัน

สมุนไพรในลูกประคบ และสรรพคุณสมุนไพร

  1. ไพล ช่วยลดอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก คลายกล้ามเนื้อ ลดอาการอักเสบ ฟกช้ำ บวม
  2. ขมิ้นชัน ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
  3. ขมิ้นอ้อย ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง บำรุงผิวพรรณ
  4. ตะไคร้บ้าน แต่งกลิ่น ลดอาการฟกช้ำ ลดอาการปวด เมื่อย
  5. ผิวมะกรูด มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
  6. ใบมะขาม ช่วยให้เส้นเอ็นหย่อน แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ช่วยบำรุงผิว
  7. พิมเสน แต่งกลิ่น ลดอาการพุพองผดผื่น บำรุง หัวใจ
  8. การบูร แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก
  9. เกลือ ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาให้ตัวยาซึม ผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น

โดยนำสมุนไพรมาบด และห่อด้วยผ้าดิบหรือผ้าฝ้าย แล้วมัดให้แน่นเป็นลูกกลมๆ

วิธีใช้ นำไปนึ่งให้อุ่นๆประมาณ 10-15 นาที วางประคบตามส่วนต่างๆของร่างกายส่วนที่มีอาการปวดเมื่อย ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดการปวดเมื่อย กลิ่นของน้ำมัน หอมระเหยในสมุนไพร การบูรและพิมเสน ช่วยทำให้รู้สึก สดชื่น ผ่อนคลายความเครียด ลูกประคบสมุนไพรมีอยู่ ด้วยกันหลายสูตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสรรพคุณที่ต้องการสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ข้อควรระวังในการใช้ลูกประคบสมุนไพร

  1. ระวังในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีประวัติแพ้สมุนไพรในลูกประคบสมุนไพร
  2. ทดสอบความร้อนก่อนทำการประคบทุกครั้งไม่ควรให้ร้อนเกินไปเพราะอาจทำให้ผิวหนังพุ พอง ไหม้ได้ ควรมีผ้าขนหนูรองเพื่อคลายความร้อนที่สัมผัสกับผิวหนังโดยตรง
  3. ควรระวังในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน อัมพาต เด็ก และผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความรู้สึกตอบสนองความร้อนช้า อาจทำให้ผิวหนังไหม้ พองได้
  4. ม่ควรใช้ลูกประคบสมุนไพรในกรณีที่มีแผล อักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก อาจจะ ทำให้เกิดอาการบวมมากขึ้นควรใช้น้ำแข็งประคบเย็นก่อน


ลูกประคบกับการรักษาโรค

Posted by: | Posted on: สิงหาคม 7, 2019

ภูมิปัญญาไทยมีมาตั้งแต่โบราณหลังการนวดรักษาผู้ป่วย หมอมักจะนำเอาสมุนไพรที่อยู่ในห่อผ้า ซึ่งเราเรียกว่า “ลูกประคบ” มาประคบให้หลังจากการนวด หรือบางอาการที่ไม่เหมาะกับการนวดหมอก็จะใช้ลูกประคบมาประคบตามส่วนต่างๆของร่างกายที่มีอาการปวดเมื่อยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายสบายตัว และรับรู้ได้ถึงอาการปวด เมื่อยดีขึ้น อาการปวด ตึงได้คลายลง ซึ่งหลายท่านอาจเคยสงสัยว่าในห่อผ้านั่นมีสมุนไพรอะไรอยู่บ้าง วันนี้เรามาทำความรู้จัก กับลูกประคบสมุนไพรกัน


‘ตะกร้าพลาสติก’ จักสานประยุกต์-สร้างรายได้…

Posted by: | Posted on: สิงหาคม 2, 2019

ขั้นตอนการทำ เริ่มจากต้องคิดก่อนว่า ต้องการทำตะกร้าขนาดเท่าไหร่ รูปทรง ลวดลาย แบบไหน สีอะไร สมมุติว่า ต้องการทำตะกร้าสานพลาสติกรูปทรงสี่เหลี่ยม ต้องเริ่มจากนำเส้นพลาสติกสำหรับสานมาตัดเป็นชุด ๆ ชุดแรกตัดให้ได้จำนวน 15 เส้น ขนาดความยาว 28 นิ้ว ชุดที่สองตัดให้ได้จำนวน 21 เส้น ขนาดความยาว 48 นิ้ว และชุดที่สามตัดให้ได้จำนวน13 เส้น ขนาดความยาว 48 นิ้ว ซึ่งการตัดเส้นพลาสติกสำหรับสานในแต่ละชุดต้องตัดให้ได้ความยาวมากกว่าที่กำหนด เพื่อไว้สำหรับสอดเก็บปลายเส้นพลาสติกเสมอ จากนั้นทำการขึ้นฐานตะกร้า โดยให้วางเรียงเส้นพลาสติกชุดแรกติดกัน 15 เส้น แล้วค่อย ๆ เอาเส้นพลาสติกชุดที่สองอีก 21 เส้นมาสอดสลับกันจนหมดก็จะได้ฐานตะกร้า

จากนั้นเริ่มมาทำตัวโครงตะกร้า ด้วยการพับพลาสติกทุกเส้นของฐานตะกร้าให้งอขึ้น เพื่อใช้สำหรับสอดพลาสติกเป็นโครง แล้วนำเส้นพลาสติกชุดที่สามมาสานสลับกันทีละเส้น จนครบทั้ง 13 เส้น ในระหว่างที่สานตัวโครงตะกร้านี้ต้องใช้มือจัด ดัดแต่งเส้นพลาสติก เพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงตะกร้าควบคู่ไปด้วย จากนั้นนำเหล็กลวดขนาดความยาว 44 นิ้ว มาดัดให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วนำเหล็กลวดที่ได้มาใส่ด้านบนตะกร้าที่สานได้ นำเส้นพลาสติกชุดที่สองจำนวน 21 เส้น มาสานรอบเหล็กลวด เพื่อทำเป็นปากตะกร้าอีกครั้ง

ขั้นตอนต่อมา ตัดเส้นพลาสติกเพิ่มอีก จำนวน 6 เส้น ตัดให้ได้ขนาดความยาว 60 นิ้ว และตัดเหล็กลวดอีกจำนวน 2 เส้น ตัดให้ได้ขนาดความยาว 26 นิ้ว ขั้นตอนการใส่หูตะกร้า นำเหล็กลวดเส้นที่ 1 มาเสียบระหว่างด้านข้างตะกร้าที่เป็นด้านกว้างทั้ง 2 ข้าง จากนั้นใช้เส้นพลาสติก 3 เส้นมาพันรอบเหล็กลวด โดย 2 เส้นแรกจะพันรอบเหล็กลวดสลับกัน ส่วนเส้นที่ 3 ใช้พันเพื่อเก็บงานอีกครั้ง ส่วนหูตะกร้าข้างที่ 2 ทำเหมือนกับหูข้างแรก แตกต่างกันตรงที่ก่อนจะพันเส้นสุดท้าย ต้องจับหูตะกร้าทั้ง 2 ข้างประกบกัน แล้วใช้เส้นพลาสติกพัน เพื่อให้ยึดติดกันอีกครั้ง จากนั้นทำการใส่ก้นตะกร้าทั้ง 4 มุม คือตัดเส้นพลาสติกให้ได้ขนาดความยาว 10 นิ้ว จำนวน 4 เส้น จากนั้นนำเส้นพลาสติก 1 เส้นที่ตัดได้มาพับครึ่ง แล้วสอดใส่ที่มุมด้านล่างด้านหนึ่งก่อน จากนั้นจับหรือบีบ ดัดแต่งให้เป็นมุมก้นหอยของตะกร้า ส่วนอีก 3 มุมด้านล่างตะกร้าที่เหลือก็ทำเช่นกัน

เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำตะกร้าสานพลาสติก


thThai
thThai