ภูมิปัญญาไทยมีมาตั้งแต่โบราณหลังการนวดรักษาผู้ป่วย หมอมักจะนำเอาสมุนไพรที่อยู่ในห่อผ้า ซึ่งเราเรียกว่า “ลูกประคบ” มาประคบให้หลังจากการนวด หรือบางอาการที่ไม่เหมาะกับการนวดหมอก็จะใช้ลูกประคบมาประคบตามส่วนต่างๆของร่างกายที่มีอาการปวด เมื่อยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายสบายตัว และรับรู้ได้ถึงอาการปวด เมื่อยดีขึ้น อาการปวด ตึงได้คลายลง ซึ่งหลายท่านอาจเคยสงสัยว่าในห่อผ้านั่นมีสมุนไพรอะไรอยู่บ้าง วันนี้เรามาทำความรู้จัก กับลูกประคบสมุนไพรกัน
สมุนไพรในลูกประคบ และสรรพคุณสมุนไพร
- ไพล ช่วยลดอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก คลายกล้ามเนื้อ ลดอาการอักเสบ ฟกช้ำ บวม
- ขมิ้นชัน ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
- ขมิ้นอ้อย ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง บำรุงผิวพรรณ
- ตะไคร้บ้าน แต่งกลิ่น ลดอาการฟกช้ำ ลดอาการปวด เมื่อย
- ผิวมะกรูด มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
- ใบมะขาม ช่วยให้เส้นเอ็นหย่อน แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ช่วยบำรุงผิว
- พิมเสน แต่งกลิ่น ลดอาการพุพองผดผื่น บำรุง หัวใจ
- การบูร แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก
- เกลือ ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาให้ตัวยาซึม ผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น
โดยนำสมุนไพรมาบด และห่อด้วยผ้าดิบหรือผ้าฝ้าย แล้วมัดให้แน่นเป็นลูกกลมๆ
วิธีใช้ นำไปนึ่งให้อุ่นๆประมาณ 10-15 นาที วางประคบตามส่วนต่างๆของร่างกายส่วนที่มีอาการปวดเมื่อย ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดการปวดเมื่อย กลิ่นของน้ำมัน หอมระเหยในสมุนไพร การบูรและพิมเสน ช่วยทำให้รู้สึก สดชื่น ผ่อนคลายความเครียด ลูกประคบสมุนไพรมีอยู่ ด้วยกันหลายสูตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสรรพคุณที่ต้องการสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ข้อควรระวังในการใช้ลูกประคบสมุนไพร
- ระวังในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีประวัติแพ้สมุนไพรในลูกประคบสมุนไพร
- ทดสอบความร้อนก่อนทำการประคบทุกครั้งไม่ควรให้ร้อนเกินไปเพราะอาจทำให้ผิวหนังพุ พอง ไหม้ได้ ควรมีผ้าขนหนูรองเพื่อคลายความร้อนที่สัมผัสกับผิวหนังโดยตรง
- ควรระวังในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน อัมพาต เด็ก และผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความรู้สึกตอบสนองความร้อนช้า อาจทำให้ผิวหนังไหม้ พองได้
- ม่ควรใช้ลูกประคบสมุนไพรในกรณีที่มีแผล อักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก อาจจะ ทำให้เกิดอาการบวมมากขึ้นควรใช้น้ำแข็งประคบเย็นก่อน